วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อียิปต์ประตูสู่อารยธรรมโบราณ

ดินแดนอียิปต์เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความลึกลับในแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอดีต โลกปัจจุบัน หรือโลกอนาคต อันรวมไปถึงทัศนะที่มีต่อโลกนี้ และโลกหน้า อียิปต์เป็นดินแดนซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากดินแดนอื่นใดทั้งหมด ทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจ แต่ก็มีเสน่ห์เย้ายวนอย่างน่าพิศวง มีบางสิ่งที่ชวนให้กระหายใคร่รู้อยู่มากมาย อียิปต์เป็นประเทศที่มีความบริบูรณ์ในตัวเองมากที่สุดประเทศหนึ่ง ในบรรดาประเทศทั้งหมดในยุคโบราณ มีวิถีชีวิตตามแบบฉบับของตนเอง มีศาสนาของตนเอง เป็นจุดแรกๆที่สำคัญในการเกิดอารยธรรมของโลก

เมื่อกรีกโบราณ ค้นพบและบันทึกเรื่องราวของอียิปต์ในช่วงประมาณ ศตวรรษแรก ของพระพุทธศาสนา ( 500 ปีก่อนคริสต์กาล ) อารยธรรมของอียิปต์ก็ได้มีอายุยืนยาวมาถึงสามพันปีแล้ว นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกคนแรก ที่มีผลงานเกี่ยวกับอียิปต์หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน คือ เฮโรโดตุส เขาเดินทางมายังอียิปต์เมื่อปี พ.ศ.93ได้พบว่าผู่ที่สามารถอ่านอักษรภาพเฮียโรกลิฟิก แบบโบราณซึ่งถูกสลักหรือเขียนไว้ในอนุสาวรีย์ตั้งแต่ยุคของ ฟาโรห์เมเนส ปฐมกษัตริย์ผู้รวบรวมดินแดนทั้งสองเจ้าด้วยกันในปีที่ 2657 ก่อนพุทธศักราช นั้นมีเพียงพวกนักบวช ถึงกระนั้น คำนานและเรื่องปุราณะ ( ความเชื่อปรัมปรา ) ยังคงมีผู้เล่าสืบสานต่อๆกันมาเกือบตลอดเวลาสามพันปีแทบจะไม่ผิดเพี้ยนไปจากบันทึกที่เป็นลายลักอักษร

หลังจากสมัยของเฮโรโดตุส เรื่องราวของอียิปต์โบราณก็ถูกบันทึกอย่างไม่ค่อยตรงกับความจริงด้วยฝีมือของผู้พิชิตชาวกรีก อเลกษันเดอร์ มหาราช และผู้รับมอบให้ปกครองแทนคือนายพล ปโตมี ซึ่งต่อมาหลังจาก อเลกษันเดอร์ได้จากโลกนี้ไป นายทหารผู้นี้ก็ได้ตั้งตนเป็นใหญ่ ราชวงศ์ ปโตเลมี ขึ้นปกครองอียิปต์ และหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในราชวงศ์ที่มาจากรีกนี้คือ เคลโอปาตรา ราชีนีผู้เลอโฉม ผู้มีนามก้องประวัติศาสตร์โลกในยุคสมัยพระนางเคลโอปาตรา นี่เองที่อียิปต์ก็ถูกมหาอำนาจโลกผู้มาใหม่บุกเข้ายึดครอง โดยฝีมือของ จักรพรรดิ ยูลีอุส ซีซาร์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อโด่งดังในจักรวรรดิโรมัน

ต่อมายังได้ตกเป็นเมืองขึ้นของผู้รุกรานเผ่าอาหรับ ระหว่าง พ.ศ. 1182-1589 หลังจากการยึดครองโดยผู้ปกำครองชาวอาหรับทำให้เรื่องอียิปต์ยุคโบราณแทบจะสูญหายไปจากโลกนี้ การค้นพบอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อประมาณร้อยห้าสิบปีก่อน เมื่อมีการตีความ อักษรภาพเฮียโรกลิฟิก การแปลภาษาโบราณ การขุดและอนุรักษ์หลุมฝังศพ วิหาร ตลอดจน ปิรามิด

โดยความเชื่อทางศาสนา รูปแบบอารยธรรม และเรื่องราวต่างๆที่ปรากฏในวรรณกรรม มักจะได้รับอิทธิพลจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค ดังนั้น ทุ่งดินเหนียวที่เหยียดยาวออกไปจรดเส้นขอบฟ้าทุกทิศทุกทางในเมโสโปตาเมีย ทำให้อาณาจักรบาบิโลเนีย มีความเชื่ออันน่าหดหู่เกี่ยวกับเรื่องของเความสิ้นหวัง ความงดงามที่น่าทึ่งของหุบผา และเวิ้งอ่าว ในคาบสมุทรกรีก เป็นแหล่งกำเนิดเทพปกรณัมอมตะและตำนานของสถานที่สำคัญแต่ละแห่งด้วยเหตุเดียวกันนี้จากสภาพอากาศของฤดูหนาวอันทารุณก็เป็นที่มาของความเชื่ออันแรงกล้าของบรรพบุรุษชาวยุโรปเหนือ ที่กำหนดมาให้เป็นวีรบุรุษไม่อาจหนีได้แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยเห็นอียิปต์ การจินตนาการดินแดนนี้จาก เรื่องปุราณพ ตำนาน เป็นเรื่องยากยิ่ง เฮกาแทอุสนักประวัติศาสตร์ผู้เฒ่าชาวกรีกเขียนไว้ว่า
อียิปต์ คือของขวัญจากแม่น้ำไนล์ ซึ่งอันที่จริงแล้ว แม่น้ำไนล์ที่กล่าวถึงก็คืออียิปต์นั้นเอง

เมื่อเลยขึ้นไปจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอันสมบูรณ์ทางเหนือ ซึ่งเป็นผืนดินที่ตั้งอยู่ในที่ต่ำเขียวขจีกว้างประมาณ 240 กิโลเมตรแล้ว อียิปต์คือ แนวหุบเขาแคบๆของแม่น้ำไนล์ เป็นแนวแบ่งเขตทะเลทรายที่ทอดตัวยาวหลายร้อยกิโลเมตร


ไม่มีความคิดเห็น: