วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ

1..ขนมปังปิ้ง อาหารเช้ายอดฮิตที่ใช้เวลาปรุงเพียงแค่ 2 นาทีเท่านั้น แถมยังมีเมนูหลากหลายให้เลือกไม่สิ้นสุด ขนมปังปิ้งกับแยมรสโปรดก็ใช่ ขนมปังปิ้งทาเนยก็ชอบ หรือจะเป็นขนมปังปิ้งจิ้มน้ำผึ้งก็ไม่เลว แต่เพื่อสุขภาพที่ดีมากขึ้นควรเลือกขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังธัญพืชเป็นส่วนประกอบหลัก The American Dietetic Association ให้คำแนะนำว่าใน 1 วันควรรับประทานขนมปังเพื่อสุขภาพอย่างน้อย 3 แผ่น และการรับประทานขนมปังโฮลวีทกับเนยถั่วยังทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้นด้วย

2.ผลไม้สด ผลิตผลจากธรรมชาติที่เปี่ยมไปด้วยไฟเบอร์และวิตามินอันทรงคุณค่า เหมาะกับชั่วโมงเร่งด่วนยามเช้าเป็นอย่างยิ่ง ส้ม 1 ผลให้สารไฟเบอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 3 กรัม โปรตีน 1 กรัม และพลังงานจำนวน 60 แคลอรี กล้วย 1 ลูกนอกจากจะอุดมไปด้วยไฟเบอร์แล้ว ยังมีธาตุโพแทสเซียมซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของแรงดันโลหิตอีก 400 มก. คราวหน้าถ้าคุณสาวๆ บอกกับตัวเองว่า ‘ไม่มีเวลากินอาหารเช้า’ อีกละก็แค่เดินไปเปิดตู้เย็น หยิบแอปเปิลมากัดสักสองสามคำ ร่างกายก็จะได้รับสารไฟเบอร์ไป 4 กรัม และพลังงานอีก 60 แคลอรีเพียวๆ โดยไม่เสียเวลาแต่อย่างใด

3.ซีเรียล แม้จะเป็นอาหารที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ซีเรียลก็เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่สะดวกและเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะกับยามเช้าอันแสนเร่งรีบ แค่รับประทานซีเรียลผสมนมพร่องมันเนยถ้วยเดียวคุณก็ได้รับธาตุไฟเบอร์แบบเต็มๆ ไปแล้วอย่างน้อย 4 กรัม น้ำตาลอีก 10 กรัม แถมไขมัน 0% อีกต่างหาก

4.เครื่องดื่มจำพวกสมู้ทตี้ อาหารเช้าอันแสนเพอร์เฟคสำหรับสาวที่ไม่ชอบเคี้ยว ถ้าคุณมีเวลาชงกาแฟแล้วละก็ขอแนะนำให้คุณหันมาดื่มเครื่องดื่มจำพวกนี้แทนดีกว่า แค่เอาผลไม้ที่เหลือในตู้เย็นเติมนมไปนิด น้ำแข็งสักก้อนสองก้อนมาปั่นรวมกัน ก็ได้อาหารเพื่อสุขภาพแล้ว แถมยังได้ความสดชื่นเป็นโบนัสยามเช้าอีกด้วย

5.ข้าวโอ๊ต สุดยอดอาหารมหัศจรรย์ที่ใช้เวลาปรุงเพียงแค่ 5 วินาทีเท่านั้น เพียงเติมน้ำร้อนก็พร้อมรับประทาน ข้าวโอ๊ต 1 ซองอุดมไปด้วยธาตุไฟเบอร์ 3 กรัม และให้พลังงาน 150 แคลอรี แถมยังช่วยลดคอเลสเทอรอล และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

เรื่องราวประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศที่มีอุดมการณ์ที่ต่างกัน


สงครามเย็น
สงครามเย็น (อังกฤษ: Cold War) (พ.ศ. 2490-2534 หรือ ค.ศ. 1947-1991) เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบการเมืองต่างกัน เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายหนึ่งคือสหภาพโซเวียต เรียกว่า ค่ายตะวันออกซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ อีกฝ่ายหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตร เรียกว่า ค่ายตะวันตก ซึ่งปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันในด้านการสะสมอาวุธ เทคโนโลยีอวกาศ การจารกรรม เศรษฐกิจ และทำสงครามผ่านสงครามตัวแทน
การกำเนิดค่ายตะวันออก
ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ก่อตั้งค่ายตะวันออก (Eastern Bloc) โดยการรวมรัฐที่ได้ยึดมาจากฝ่ายนาซี เช่น โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย แล้วจึงเปลี่ยนสถานะให้เป็นรัฐสังคมนิยมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต
ลำดับเหตุการณ์
นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาดังกล่าว คำนึงถึงสงครามเย็นเป็นหลัก นับจากปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ. 1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี

ความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยลัทธิทรูแมน วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1947 กับประกาศแผนการมาร์แชลล์ เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง การขยายอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปตะวันออก และการแบ่งแยกเยอรมนี

การวิจัยและพัฒนาโครงการทางการทหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก เกิดขึ้นในในช่วงเวลานี้ รวมถึงการแข่งขันกันสำรวจอวกาศ และการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพของฝ่ายตน