วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วิทยาการเฮียโรกลิฟ

ภาษาเขียนของชาวอียิปต์โบราณนั้นเรียกว่าอักษร เฮียโรกลิฟ อันเป็นคำภาษากรีกที่แปลว่า "สัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์" โดยชาวไอยคุปต์ถือว่าการเขียนเปรียบเสมือนพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเทพเจ้า ทอธ ผู้มีศีรษะเป็นนกช้อนหอย และบางครั้งก็ปรากฎเป็นลิงบาบูนเป็นตัวแทน ทอธคือเทพเจ้าแห่งการเขียนและสรรพความรู้ ทั้งยังเป็นเทพแห่งดวงจันทร์ซึ่งคอยตรวจนับการเคลื่อนที่ของเวลา หน้าที่สารพันเช่นนี้ทำให้ทอธได้รับการบูชาเป็นฐานะเทพเจ้าหลักของชาวอียิปต์โบราณมาตลอดช่วงพงศาวดารสามพันปี

อันความรู้เรื่องกำเนิดการเขียนในอียิปต์โบราณของเรานั้นวางอยู่บนหลักฐานที่หาได้ยากยิ่ง เป็นไปได้ว่าการประดิษฐ์การเขียนอาจมีขึ้นก่อนที่อียิปต์จะรวมเป็นอาณาจักรเดียวเสียด้วยซ้ำ โดยในเบื้องแรกพวกเขาคงใช้กิ่งไม้มาบากทำรอยขีดง่ายๆ สำหรับจดบันทึกสินค้าและรายชื่อเจ้าหน้าที่แต่ละคน ก่อนจะค้นพบว่าการเขียนคือเครื่องมือแห่งการใช้อำนาจ และเป็นความรู้สำคัญยิ่งยวดในการปกครองและการสร้างรัฐอียิปต์ จานสีของนาร์เมอร์เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันว่ามีการใช้อักษรเฮียโรกลิฟในการระบุพระนามของกษัตริย์มาตั้งแต่สมัยแรกๆ ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นวิธีการยืนยันพระราชอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ การเขียนยังเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยสร้างศาสนาประจำรัฐ รวมถึง "จารึกพีระมิด" ซึ่งก็คือคาถาอาคมที่ชาวไอยคุปต์หวังจะเขียนไว้บนกำแพงสุสานเพื่อช่วยนำทางตนสู่ยมโลก

ถึงจะเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ทว่าชาวอียิปต์ก็ยังทิ้งข้อเขียนจำนวนมหาศาลเอาไว้ มีทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ศาสนา เอกสารทางการค้า และเรื่องเล่า แต่พอยุคการปกครองของฟาโรห์ปิดฉากลงเมื่อราว 2000 ปีที่แล้ว ก็ไม่มีผู้สืบสานการใช้อักษรฮีโรกลิฟอีก ผู้มาเยือนอียิปต์ต่างตะลึงกับร่องรอยของอารยธรรมที่สาบสูญแต่กลับสืบค้นเรื่องราวของผู้ที่สร้างมันขึ้นมาได้น้อยมากเพราะว่าไม่สามารถอ่านอักขระโบราณนี้ ผู้ใคร่จะรู้เรื่องราวของชาวไอยคุปต์อย่างทะลุปรุโปร่งต้องรอจนกระทั่งปี 1822 เมื่อนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ฌอง ฟรองชัว ชอวโปลิยง ไขความลับของเฮียโรกลิฟได้สำเร็จ การค้นพบของชอมโปลิยงกลายเป็นกุญแจสำคัญที่ช้วยให้ปราชญ์สมัยหลังเข้าถึงเรื่องราวของชาวอียิปต์โบราณ และเปิดโอกาสให้เรื่องราวตลอดช่วง 3000 ปีที่อียิปต์เฟื่องฟูปรากฎออกมาสู่ความรับรู้ของชนรุ่นหลังอีกครั้ง

อียิปต์ประตูสู่อารยธรรมโบราณ

ดินแดนอียิปต์เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความลึกลับในแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอดีต โลกปัจจุบัน หรือโลกอนาคต อันรวมไปถึงทัศนะที่มีต่อโลกนี้ และโลกหน้า อียิปต์เป็นดินแดนซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากดินแดนอื่นใดทั้งหมด ทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจ แต่ก็มีเสน่ห์เย้ายวนอย่างน่าพิศวง มีบางสิ่งที่ชวนให้กระหายใคร่รู้อยู่มากมาย อียิปต์เป็นประเทศที่มีความบริบูรณ์ในตัวเองมากที่สุดประเทศหนึ่ง ในบรรดาประเทศทั้งหมดในยุคโบราณ มีวิถีชีวิตตามแบบฉบับของตนเอง มีศาสนาของตนเอง เป็นจุดแรกๆที่สำคัญในการเกิดอารยธรรมของโลก

เมื่อกรีกโบราณ ค้นพบและบันทึกเรื่องราวของอียิปต์ในช่วงประมาณ ศตวรรษแรก ของพระพุทธศาสนา ( 500 ปีก่อนคริสต์กาล ) อารยธรรมของอียิปต์ก็ได้มีอายุยืนยาวมาถึงสามพันปีแล้ว นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกคนแรก ที่มีผลงานเกี่ยวกับอียิปต์หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน คือ เฮโรโดตุส เขาเดินทางมายังอียิปต์เมื่อปี พ.ศ.93ได้พบว่าผู่ที่สามารถอ่านอักษรภาพเฮียโรกลิฟิก แบบโบราณซึ่งถูกสลักหรือเขียนไว้ในอนุสาวรีย์ตั้งแต่ยุคของ ฟาโรห์เมเนส ปฐมกษัตริย์ผู้รวบรวมดินแดนทั้งสองเจ้าด้วยกันในปีที่ 2657 ก่อนพุทธศักราช นั้นมีเพียงพวกนักบวช ถึงกระนั้น คำนานและเรื่องปุราณะ ( ความเชื่อปรัมปรา ) ยังคงมีผู้เล่าสืบสานต่อๆกันมาเกือบตลอดเวลาสามพันปีแทบจะไม่ผิดเพี้ยนไปจากบันทึกที่เป็นลายลักอักษร

หลังจากสมัยของเฮโรโดตุส เรื่องราวของอียิปต์โบราณก็ถูกบันทึกอย่างไม่ค่อยตรงกับความจริงด้วยฝีมือของผู้พิชิตชาวกรีก อเลกษันเดอร์ มหาราช และผู้รับมอบให้ปกครองแทนคือนายพล ปโตมี ซึ่งต่อมาหลังจาก อเลกษันเดอร์ได้จากโลกนี้ไป นายทหารผู้นี้ก็ได้ตั้งตนเป็นใหญ่ ราชวงศ์ ปโตเลมี ขึ้นปกครองอียิปต์ และหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในราชวงศ์ที่มาจากรีกนี้คือ เคลโอปาตรา ราชีนีผู้เลอโฉม ผู้มีนามก้องประวัติศาสตร์โลกในยุคสมัยพระนางเคลโอปาตรา นี่เองที่อียิปต์ก็ถูกมหาอำนาจโลกผู้มาใหม่บุกเข้ายึดครอง โดยฝีมือของ จักรพรรดิ ยูลีอุส ซีซาร์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อโด่งดังในจักรวรรดิโรมัน

ต่อมายังได้ตกเป็นเมืองขึ้นของผู้รุกรานเผ่าอาหรับ ระหว่าง พ.ศ. 1182-1589 หลังจากการยึดครองโดยผู้ปกำครองชาวอาหรับทำให้เรื่องอียิปต์ยุคโบราณแทบจะสูญหายไปจากโลกนี้ การค้นพบอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อประมาณร้อยห้าสิบปีก่อน เมื่อมีการตีความ อักษรภาพเฮียโรกลิฟิก การแปลภาษาโบราณ การขุดและอนุรักษ์หลุมฝังศพ วิหาร ตลอดจน ปิรามิด

โดยความเชื่อทางศาสนา รูปแบบอารยธรรม และเรื่องราวต่างๆที่ปรากฏในวรรณกรรม มักจะได้รับอิทธิพลจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค ดังนั้น ทุ่งดินเหนียวที่เหยียดยาวออกไปจรดเส้นขอบฟ้าทุกทิศทุกทางในเมโสโปตาเมีย ทำให้อาณาจักรบาบิโลเนีย มีความเชื่ออันน่าหดหู่เกี่ยวกับเรื่องของเความสิ้นหวัง ความงดงามที่น่าทึ่งของหุบผา และเวิ้งอ่าว ในคาบสมุทรกรีก เป็นแหล่งกำเนิดเทพปกรณัมอมตะและตำนานของสถานที่สำคัญแต่ละแห่งด้วยเหตุเดียวกันนี้จากสภาพอากาศของฤดูหนาวอันทารุณก็เป็นที่มาของความเชื่ออันแรงกล้าของบรรพบุรุษชาวยุโรปเหนือ ที่กำหนดมาให้เป็นวีรบุรุษไม่อาจหนีได้แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยเห็นอียิปต์ การจินตนาการดินแดนนี้จาก เรื่องปุราณพ ตำนาน เป็นเรื่องยากยิ่ง เฮกาแทอุสนักประวัติศาสตร์ผู้เฒ่าชาวกรีกเขียนไว้ว่า
อียิปต์ คือของขวัญจากแม่น้ำไนล์ ซึ่งอันที่จริงแล้ว แม่น้ำไนล์ที่กล่าวถึงก็คืออียิปต์นั้นเอง

เมื่อเลยขึ้นไปจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอันสมบูรณ์ทางเหนือ ซึ่งเป็นผืนดินที่ตั้งอยู่ในที่ต่ำเขียวขจีกว้างประมาณ 240 กิโลเมตรแล้ว อียิปต์คือ แนวหุบเขาแคบๆของแม่น้ำไนล์ เป็นแนวแบ่งเขตทะเลทรายที่ทอดตัวยาวหลายร้อยกิโลเมตร


วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551


เพรเซนส์ ออฟ เดอะ พาสท์ คอลเลคชั่นทรงออกแบบ ในปารีส แฟชั่น วีค

วงการแฟชั่นระดับโลกบันทึกแล้วว่า พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเป็นนักออกแบบพระชนมายุน้อยที่สุด ที่ได้ทรงนำผลงานออกแสดงโชว์ใน “ปารีส แฟชั่น วีก” เวทีแห่งความใฝ่ฝันของนักออกแบบทั่วโลก ซึ่งผู้มีโอกาสต้องผ่านความเห็นชอบและมาตรฐานของสมาพันธ์แฟชั่นของฝรั่งเศส

เมื่อพระองค์หญิงจากประเทศไทยทรงนำคอลเลกชัน “Presence of The Past” (เพรเซนส์ ออฟ เดอะ พาสท์) ร่วมแสดงเป็นโชว์เปิดงานปารีส แฟชั่น วีก ฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2008 เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ผ่านมา ณ โรงละครโอเปร่า การ์นิเยร์ กรุงปารีส ฝรั่งเศส จึงได้รับความสนใจจากแฟชั่นนิสต้าทั่วโลก จำนวนบัตรเข้าชมไม่เพียงพอ อีกทั้งสื่อจำนวนมากต่างแจ้งความประสงค์ขอประทานพระอนุญาตทูลสัมภาษณ์พร้อมฉายพระรูปทรงงาน

ก่อนถึงเวลาเปิดโชว์เพียงไม่กี่ชั่วโมง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า สิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงพระกรุณาประทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนต่างประเทศ อาทิ สถานีโทรทัศน์ France 3 รวมทั้งประทานสัมภาษณ์และฉายพระรูปการทรงงานเบื้องหลังแก่นิตยสารชื่อดังกว่า 20 ฉบับ อาทิ สำนักข่าว GAMMA, Fashion Guide TV จากเยอรมนี, สถานี RTL จากเยอรมนี, สถานี VTM จากเบลเยียม, Hair Magazine จากอังกฤษ และ AFP จากฝรั่งเศส ฯลฯ และปิดท้ายกับนักข่าวชื่อดังของฝรั่งเศส มาดาม วิเวียน บลาสเซล จากสถานีโทรทัศน์ช่อง TF1 ซึ่งกราบทูลถามถึงเหตุทรงตัดสินพระทัยทรงแสดงแฟชั่นโชว์ คอลเลกชันทรงออกแบบที่ปารีส แฟชั่น วีก

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริ วัณณวรีนารีรัตน์ รับสั่งว่า “ปารีสเป็นเมืองหลวงของแฟชั่น และเมื่อใครเอ่ยถึงแฟชั่นก็ต้องนึกถึงปารีส อีกทั้งปารีส แฟชั่น วีก เปรียบได้กับงานแฟชั่น วีก ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และที่สำคัญข้าพเจ้าชื่นชอบกรุงปารีสมาก”

การรอคอยของสื่อมวลชนชั้นนำกว่า 200 คนจากทั่วโลกอาทิ VOGUE, Har per’s Bazaar, ELLE, L’Officiel, Marie Claire, WWD, Vanity Fair, Glamour, Le Monde, Instyle, Le Figaro ฯลฯ สิ้นสุดลงเมื่อผลงานทรงออกแบบจำนวน 39 ชุด แนวเซมิ กูตูร์ ปรากฏสู่สายตา วงการแฟชั่นโลกได้รับรู้การผสมผสานระหว่างรายละเอียดของศิลปะไทยโบราณ ที่กลมกลืนกับความทันสมัยของแฟชั่นตะวันตกอย่างลงตัว ด้วยพระอัจฉริยภาพ ซึ่งทรงใช้เวลาหนึ่งปีในการทรงศึกษา ค้นคว้า และออกแบบ กระทั่งเป็นผลงานทรงภาคภูมิ

เรียกเสียงปรบมือจากสื่อมวลชนและผู้เข้าชมซึ่งล้วนรวมทั้งบุคคลสำคัญและมีชื่อเสียง เช่น มาดาม คริสเตียน ลาการ์ รมว.กระทรวงการคลังและการจ้างงานฝรั่งเศส สุภาพสตรีทรงอิทธิพลอันดับที่ 3 ของยุโรป และอันดับที่ 12 ของโลก, เคนโซ่ ทานาดา ผู้ก่อตั้งห้องเสื้อ KENZO เบอร์นัวท์ หลุยส์ วิตตอง ทายาทรุ่นที่ 6 ของตระกูลหลุยส์ วิตตอง, นายเวดรีน อดีต รมว.กระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส, นายฟรองซัวส์ เดอ ลาเอ ประธานเครือโรงแรมดอร์เชสเตอร์, โลรองค์ บิลลี่ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, สเวน ฟิลิป โซเรนเซน เลขาธิการในพระองค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน, คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา, นิพนธ์ พร้อมพันธุ์, อนุทิน–สนองนุช ชาญวีรกุล, ม.ล.อาชว์ วรวรรณ, พัฒศรี บุนนาค ฯลฯ

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงพระดำเนินยังด้านหน้าแคตวอล์กในช่วงฟินาเล่ อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของงานแฟชั่นโชว์ ทรงรับเสียงปรบมือถวาย และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเสด็จฯทอดพระเนตรโชว์ครั้งนี้พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระราชทานช่อดอกไม้แสดงความยินดีในความสำเร็จแก่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พร้อมทรงสวมกอดด้วยความปลื้มพระทัย
ท่ามกลางเสียงปรบมือที่ยาวนาน.




วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551


Montagne Pelée
La montagne Pelée, volcan de l'île de la Martinique, doit son nom à l'aspect désolé de ses flancs couverts de cendres suite à une éruption qui eut lieu peu de temps avant l'arrivée des premiers colons vers 1635.
Dominant le nord de l'île de sa masse imposante qui culmine à 1 397 mètres, elle fait partie des neuf volcans actifs de l'arc des
petites Antilles.
Les activités
volcaniques et sismiques importantes des petites Antilles résultent de la subduction des plaques océaniques atlantique et pacifique qui enserrent la plaque caraïbe.
Le dynamisme volcanique péléen se caractérise par des éruptions rares mais violentes : l'
andésite contenue dans les profondeurs du volcan est une lave à forte teneur en silice, très visqueuse.
Cette lave, presque solide, forme un dôme en couvercle dans la bouche éruptive et lorsque la pression ne peut plus être contenue, l'éjection brutale des gaz détruit le couvercle et provoque des nuées ardentes : un nuage de gaz sous pression, de cendres brûlantes et de blocs de lave, déferlent sur les pentes du volcan.