วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประเทศจีน

พระพุทธรูปเล่อซาน(Leshan Giant Buddha)เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในเขาเล่อซาน เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ขนาดของพระพุทธรูป มีความสูงกว่า 70 เมตร ไหล่กว้างกว่า 20 เมตร พระเศียรสูงเท่าภูเขา พระบาทวางอยู่ริมแม่น้ำ พระหัตถ์วางบนเข่า พระพักตร์อิ่มเอิบสงบ ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับ เขาเอ๋อเหมย เมื่อปี พ.ศ. 2539 พระพุทธรูปเล่อซานเริ่มสร้างตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง คือคริสต์ศักราช 700 กว่าปี เริ่มต้นโดยมีพระชื่อไห่ทงเดินทางมาถึงเสฉวน และพบว่าเขาเล่อซานตั้งอยู่บนทางผ่านของแม่น้ำสามสาย จึงมักเกิดอุบัติเหตเรือล่มทำให้มีผู้คนเสียชีวิตบ่อยๆ พระไห่ทงจึงตั้งใจสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นตรงจุดนี้เพื่อให้พระคุ้มครองเเก่ผู้เดินทาง ต่อมา มีชาวพุทธผู้มีจิตศรัทธาใช้ความพยายามและใช้เวลาอีก ๙๐ ปี สร้างพระพุทธรูปองค์นี้จนสำเร็จ พุทธศาสนิกชนจากท้องที่ต่างๆพากันมานมัสการเพื่อความสงบสุขแห่งจิตใจ

เขาง้อไบ๊(Mt. Emei) เขาเอ๋อเหมย หรือ เขาง้อไบ๊ หนึ่งใน 4 พุทธคีรี ของจีน ตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวน ห่างจากนครเฉิงตูไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 160 ก.ม.สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 3077 เมตร และ สูงกว่าพุทธคีรีอื่นๆ กว่า 1000 เมตร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม ปี ค.ศ.1996 เขาสูงเอ๋อเหมย เป็นทีตั้งถิ่นฐานของกลุ่มนักพรตลัทธิเต๋ามานานกว่า 10000 ปี จวบจนกระทั่ง ศตวรรษที่ 3 ได้กลายมาเป็นพุทธคีรี โดยได้มีการจัดสร้างองค์โพธิสัตว์ผู่เสียน และภิกษุฮุยฉี ก็ได้สร้างวัดผู่เสียนที่บริเวณตีนเขา ซึ่งก็คือวัดว่านเหนียนในปัจจุบันนั่นเอง ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 9 จักรพรรดิซ้อง ( เจ้ากวนยิน) ได้ให้ภิกษุจียี่เดินทางไปอินเดียเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎก ระหว่างทางกลับได้สร้างวัดขึ้นที่เขาง้อไบ๊ และได้แปลพระไตรปิฎก เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และท่านได้หล่อรูปสำริดองค์ผู่เสียน ขนาด 62 ตัน และ สูง 7.85 เมตร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดว่านเหนียน ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีการบูรณะและเปลี่ยนให้วัดลัทธิเต๋าส่วนใหญ่ในบริเวณเขาง้อไบ๊ เป็นวัดในพุทธศาสนา

เขื่อนตููู้เจียงเอี้ยน (Dujiangyan Irrigation Project of China)ภูมิปัญญาอีกประการหนึ่งของชาวจีน ที่สะสมงานด้านก่อสร้างและต่อสู้กับธรรมชาติมากว่า 5,000 ปี ด้วยความพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติให้ได้ โดยเฉพาะการบังคับ “น้ำ” ชาวจีนเชื่อว่า ผู้ใด กำหนดน้ำได้ ผู้นั้นปกครองประเทศได้ ผลงานวิศวกรรมของชาวจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามนั้นตั้งแต่ยุคโบราณ นั่นคือ เขื่อนตูเจียงเอี้ยน ที่เมืองตูเจียงเอี้ยน ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก เมื่อปี 1999 ถ้านับอายุแล้ว เขื่อนนี้สร้างมากกว่าสองพันปี ตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้ แสดงถึงความก้าวหน้าด้านงานโยธาโบราณที่ทดน้ำจากแม่น้ำหมินเจียงเข้าสู่ที่ราบมณฑลเสฉวน ปัจจุบันเขื่อนตูเจียงเอี้ยนยังคงใช้งานได้ดี ดังคำกล่าวที่ว่า “ทางเหนือมีกำแพงยักษ์ ทางใต้มีระบบชลประทานตูเจียงเอี้ยน 2 สิ่งมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน” ผู้ออกแบบก่อสร้าง คือ ท่านหลีปิง ผู้ปกครองมณฑลเสฉวนขณะนั้น ท่านเจ้าเมืองได้เดินทางไปตรวจดูงานในเมืองเฉินตู พบว่าเมืองนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก แต่มักจะเกิดภัยน้ำท่วมอยู่เนืองๆ เพราะแม่น้ำหมินเจียงไหลมาจากจิ่วจ้ายโกวและความใหญ่โตของแม่น้ำแยงซีเกียง ปริมาณน้ำในฤดูน้ำหลาก ไหลบ่าท่วมไร่นาเสียหาย ท่านจึงเกิดความคิดที่จะบรรเทาทุกข์ชาวบ้าน ด้วยการสร้างเขื่อนแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะตามลักษณะการใช้งานในแนวคิดแบบ “จระเข้ขวางคลอง” คือ ส่วนหัวเขื่อนเปรียบเสมือนปากจระเข้ กลางเขื่อนคือลำตัวจระเข้ และท้ายเขื่อนคือหางจระเข้นั่นเอง เมื่อเกิดแรงปะทะของสายน้ำที่ปากจระเข้ ปากจระเข้จะแบ่งน้ำออกเป็นสองสาย ส่วนหนึ่งระบายน้ำเข้าสู่เมืองเฉินตู อีกส่วนหนึ่งจะไหลออกไปนอกเมือง น้ำที่ไหลเข้าเมืองนี้จะเพียงพอสำหรับใช้ในการเกษตร ส่วนลำตัวและหางจระเข้นั้นมีหน้าที่ระบายดินทรายและหิน ที่มากับสายน้ำให้เหลืออุดตันเขื่อนให้น้อยที่สุด การชมเขื่อนนี้ ต้องเดินบนสะพานแขวนที่ใช้ข้ามแม่น้ำหมินเจียง เพื่อไปนมัสการศาลเจ้าเอ้อหวังเมี่ยว หรือวัดสองกษัตริย์ ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงหลีปิงและ ลูกชาย ผู้คิดริเริ่มระบบชลประทานแห่งแรกของจีน เป็นวัดเก่าแก่ที่ปลูกสร้างบนไหล่เขาซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงาม มองเห็นแม่น้ำหลินเจียงไหลอยู่ด้านล่าง
ชมงิ้วเสฉวน (Sichuan Opera)เริ่มมีขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์หมิง (1368-1644) และ ต้นราชวงศ์ชิง (1644-1911) ด้วยกลุ่มผู้อพยพจากน้ำท่วม บทละครที่แตกต่างกัน โดยการผสมผสานภาษาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียม ดนตรีและการเต้นแบบพื้นเมือง การแสดงเปลี่ยนหน้ากาก นับเป็นไฮไลท์ของการแสดง เป็นการนำเสนอหน้ากากซึ่งคนโบราณได้ทำขึ้น เป็นขับไล่สัตว์ป่า งิ้วเสฉวน แสดงให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ ทักษะโบราณ และ ความสมบูรณ์แบบสู่งานศิลปะ

ไม่มีความคิดเห็น: